ในพระจริวัตรของท่าน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระองค์ ท่านจะเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ท่านอยู่เป็นประจำ> โดยเฉพาะชาวบ้านต่างจังหวัดจะโชคดีกว่าเรานักที่ได้มีโอกาส่ ชื่นชมพระบารมีของในหลวงได้ใกล้ชิดและบ่อยครั้งกว่าคนใน กรุงเทพมากนัก จึงมีเรื่องของในหลวงมาเล่าให้ฟัง ฟังแล้วเชื่อว่าทุกคนจะต้องอมยิ้มกันทุกคนแน่ เรื่องที่ 1. วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของ > > ท่านตามปกติที่ต่างจังหวัด ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวง > > มากมายพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระ บาทหลวงที่แถวหน้าก็มีหญิงชราแก่คนหนึ่งได้ก้มลงกราบแทบ พระบาทแล้วก็เอามือของแก่มาจับพระหัตถ์ของในหลวง > > แล้วก็พูดว่ายายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอในหลวง แล้วก็พูดว่า > > ยายอย่างโน้น ยายอย่างนี้ อีกตั้งมากมายแต่ในหลวงก็ทรง > > เฉย ๆ มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร แต่พวกข้าราชบริภารก็ มองหน้ากันใหญ่ กลัวว่าพระองค์จะทรงพอพระราชหฤหัย > > หรือไม่ แต่พอพวกเราได้ยินพระองค์รับสั่งตอบว่ากับหญิง > > ชราคนนั้น ก็ทำให้เราถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหวเพราะ > > พระองค์ทรงตรัสว่า " เรียกว่ายายได้อย่างไร > > อายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ ต้องเรียกน้าซิ ถึงจะถูก " > > > > เรื่องที่ 2. พระองค์ท่านเสด็จไปที่จังหวัดสกลนคร เพื่อเยี่ยม > > เยียนชาวบ้าน และพระองค์ก็ทรงตรัสถามชายคนหนึ่งที่มา > > เข้าเฝ้าเพราะแขนเจ็บเข้าเฝือก ในหลวงทรงรับสั่งถามว่า > > " แขนเจ็บไปโดนอะไรมา " ชายคนนั้นตอบว่า " ตก สะพาน " แล้วในหลวงทรบรับสั่งกลับไปอีกว่า " แล้วแขนอีกข้าง หนึ่งละ " ชายคนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า " แขนข้างนี้ไม่ได้ตกลง ไปด้วย ตกข้างเดียว " ในหลวงของเราก็ทรงพระสรวล > > > > เรื่องที่ 3. พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่ > > ทางภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาส ทางใต้นี้มีปัญหาเรื่องดิน > > เป็นกรด มีความเค็ม พระองค์จึงทรงรับสั่งถามกับชาวบ้านที่ มาเฝ้ารับเสด็จว่า " ดินหลังบ้านเป็นอย่างไร เค็มไหม " > > ชาวบ้านก็มองหน้ากันแล้วทำหน้างง ก่อนตอบกลับมาว่า > > " ไม่เคยชิมซักที " ในหลวงก็รับทรงสั่งกับข้าราชบริภารที่ > > ตามเสด็จว่า " ชาวบ้านแถวนี้เขามีอารมณ์ขันกันดีนะ "
4. ในขณะที่ในหลวงท่านทรงประชวรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุด แห่งนึง มีข้าราชบริพารเข้าเยี่ยมจำนวนมาก ทุกคนคงจำได้ที่เป็นข่าวใหญ่โตที่นายกฯคนปัจจุบัน บังอาจถวายบัตร 30 บาท ให้พระองค์ เพื่อใช้สิทธิ์สร้างความแค้นเคืองใจให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน แต่ไม่มีใครรู้เบื้องหลังว่าพระองค์ทรงตอบว่าอย่างไร ในหลวงทรงตรัสว่า "ไม่เป็นไรหรอก หากข้าพเจ้าไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ แต่คงสามารถใช้บัตรผู้สูงอายุได้ หรือจะใช้สิทธิข้าราชการของบุตรี (ฟ้าหญิง)ก็ได้" ท่านพูดเสียงเรียบๆ ไม่ได้รู้สึกว่าถูกลบหลู่เลย พูดเสร็จก็ยื่นบัตรทองใบนั้น ให้นายกที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ฟังแล้วก็อดยิ้มไม่ได้ว่าท่านตอบได้น่ารักมาก เคยมีคนถามผมว่า นับถือใครมากที่สุด คิดถึงคนแรกและคนเดียวเลยคือ ในหลวง ท่านเหนือกว่ากษัตริย์ใดในโลกหล้า ยิ่งใหญ่กว่าวีรบุรุษคนใดในตำนาน มีคุณธรรมประเสริฐล้ำเทียบพระโพธิสัตว์ ขอถวายความจงรักภักดีจนกว่าชีวีจะหาไม่ 5.เราจับได้แล้ว ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ....ครั้งหนึ่งในงานนิทรรศการ "ก้าวไกลไทยทำ" วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538"The BOI Fair 1995 commemorates the 50th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej's reign" (Board of Investment Fair 1995 BOI)หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตามศาลาการแสดงต่างๆ ก็มาถึงศาลาโซนี่ (อิเล็กทรอนิกส์) ภายในศาลาแต่งเป็น "พิภพใต้ทะเล" โดยใช้เทคนิคใหม่ล่าสุด "Magic Vision" น้ำลึก 20,000 league จะมีช่วงให้แลเห็นสัตว์ทะเลว่ายผ่านไปมา ปลาตัวเล็กๆ สีสวยจะว่ายเข้ามาอยู่ตรงหน้า ข้อสำคัญเขาเขียนป้ายไว้ว่า ถ้าใครจับปลาได้เขาจะให้เครื่องรับโทรทัศน์ พวกเราไขว่คว้าเท่าไหร่ก็จับไ ม่ได้ เพราะเป็นเพียงแสงเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า "เราจับได้แล้ว" พร้อมทั้งทรงยกกล้องถ่ายรูปชูให้ผู้บรรยายดู แล้วรับสั่งต่อ "อยู่ในนี้" ต่อจากนั้นคงไม่ต้องเล่า เพราะเมื่ออัดรูปออกมาก็จะเป็นภาพปลาและจับต้องได้ บริษัทโซนี่จึงต้องน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องรับโทรทัศน์ตามที่ประกาศไว้...6. หมึกไม่ออก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนงค์รัตน์ สุขุม ........วันที่ 19 กรกฎาคม 2526 เป็นวันพระราชทางปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่นายกสโมสรอาจารย์จะเป็นผู้ดูแลถวายปากกาให้ทรงลงประปรมาภิไธย แต่ในปีนั้น ดิฉันในฐานะอุปนายกสโมสรอาจารย์ได้รับหน้าที่นี้แทน ก่อนจะเสด็จประราชดำเนิน เราก็ดูแลความเรียบร้อยทุกอย่าง อย่างระมัดระวังที่สุด โดยเฉพาะปากกาลองกันหลายครั้งจนมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่พอเสด็จฯ มาถึงท่านก็ทรงลงประปรมาภิไธย ปรากฏว่าทรงจรดปากกาลงไปแล้วแต่ไม่มีหมึกออกมา เราก็ตกใจมากเลย ไม่รู่จะทำยังไงดี นึกในใจว่าเป็นความบกพร่องของเราแน่ๆ ลองมากไปจนหมึกหมด ดิฉันก็เลยถวายกระดาษทิชชูเปล่าๆ ที่อยู่ในมือให้ท่าน เพื่อจะให้ท่านทรงเช็ดปากกา แต่ท่านทรงพระเมตตามากเลย สีพระพักตร์ที่ท่านมองดิฉันเหมือนกับจะตรัสว่า "ไม่ต้องตกใจ" แล้วก็ทรงนำปากกามาลองที่มือดิฉันที่มีกระดาษทิชชู่ ปรากฏว่าหมึกออก จากนั้นก็ทรงหันไปลงพระปรมาภิไธยในสมุด พอท่านเสด็จพระราชดำเนินไปแล้ว ทุกคนก็รีบเข้ามาดูกระดาษที่ทรงลองปากกาแผ่นนั้นกันใหญ่ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ บอกว่า"พี่ๆ ขอหน่อยเถอะพี่ จะเอาไปเป็นมงคล" ก็เลยแบ่งให้อาจารย์ไปส่วนหนึ่ง...7. ทุกข์ยามดึกพลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์ ผู้อำนวยสำนักงานโครงการพระดาบส อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข .....การที่ได้ทรงพระกรุณารับฟัง และติดต่อทางวิทยุตำรวจเป็นประจำ จึงทรงทราบความลำบาก ความเดือดร้อนของข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ตำรวจประจำตู้ยามบางคนคับแค้นใจ เกี่ยวกับปัญหาครอบครัวปัญหาการครองชีพ เมื่อเสพสุราแล้วครองสติไม่ได้ ไม่รู้จะระบายความในใจกับใคร จึงได้พล่ามบรรยายมาทางวิทยุ บางคนหลับยามไม่พอกดคีย์ ไมโครโฟนค้าง ทำให้มีเสียงกรนออกอากาศมาด้วย บางคนตะโกนร้องเพลงลูกทุ่ง ออกอากาศมาเป็ฯการแก้เหงา ก็มีที่จัดได้ว่าโชคดี คือ ศูนย์ควบคุมข่ายตำรวจแห่งชาติ "ปทุมวัน" กล่าวคือ ในยามดึกวันหนึ่ง พนักงานวิทยุคนหนึ่งได้ระบายความเดือดร้อน เนื่องจากหิวโหยไม่สามารถ หาอาหารรับประทานได้เพราะต้องเข้าเวร เมื่อทรงรับฟังแล้วทรงสงสาร จึงได้รับสั่งทางวิทยุกับผู้เขียนในฐานะที่เป็น ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นโดยตรงว่า "โปรดเกล้าฯ พระราชทานตู้เย็นเพื่อ เก็บอาหารสำรอง สำหรับเวรยามดึกให้ 1 ตู้"
ที่มา 1.http://board.dserver.org/r/rojana7/00000021.html
2.http://www.naturethai.org/community/view.php?No=130