การใช้แมลงในการพิสูจน์ศพในประเทศไทยรายแรกได้ใช้วิเคราะห์ ศพที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้มีการตีพิมพ์ ใน The First Documented Forensic Entomology Case in Thailand และมีการทดลองนิติเวชกีฏวิทยาระดับการวิจัย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นครั้งแรก เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2546โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวรรณ อมรศักดิ์อาจารย์ ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ ยุตนันท์ จำปาเทศ นิสิตภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเมื่อยังไม่นานนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้ทำการศึกษาชนิดของสัตว์ขาปล้องในซากหมูและการประยุกต์ใช้ในทางนิติเวชซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง การใช้แมลงในการสืบสวนคดีอาชญากรรม เรียกอย่างหนึ่ง อาชญานิติเวชกีฏวิทยา (Medicrocriminal Forensic Entomology) การสืบหาระยะเวลาหลังการตาย (Post Mortem Interval หรือ PMI) หรือข้อมูลต่าง ๆ นั้น ต้องเก็บหลักฐานจากสถานที่เกิดเหตุซึ่งอาจเป็นไข่ของแมลง ตัวอ่อน หนอน ดักแด้ หรือตัวเต็มวัยของแมลงก็ได้ จากนั้นนำมาแบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 นำมาใช้ประมาณ PMI โดยดูจากอายุของแมลงที่พบบริเวณศพที่มีอายุมากที่สุด
ส่วนที่ 2 นำไปเลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัยเพื่อให้แน่ใจว่าจำแนกชนิดถูกต้อง
ส่วนที่ 3 นำไปตรวจวิเคราะห์ DNA เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น
ส่วนที่ 3 นำไปตรวจวิเคราะห์ DNA เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น
การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ เป็น ตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ เมื่อตายหรือหัวใจหยุดเต้น ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติ เกิดการเน่าสลายตัวและอาจเกิดการเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพในช่วงระยะเวลาประมาณ 3-4 วันหลังจากตาย ซึ่งการเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ อาจจะเป็นตัวช่วยบ่งบอกระยะเวลาการตายของผู้ตายได้เป็นอย่างดี
การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ แพทย์นิติเวชและพนักงานสอบสวนจะต้องทราบว่าชนิดของตัวหนอนที่พบในศพนั้น เป็นตัวหนอนของแมลงชนิดใด การรู้ถึงชนิดของแมลงและตัวหนอนจะช่วยทำให้ทราบได้ว่าแมลงชนิดนั้นเจริญเติบโตมานานเท่าใด และใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะเจริญเติบโต ซึ่งเป็นการช่วยบอกระยะเวลาการตายในทางอ้อมได้ แมลงวัน เป็นแมลงที่พบได้มากที่สุดในการเป็นตัวหนอนที่พบบนศพที่ยังไม่แห้ง ในประเทศไทย เคยมีผู้ศึกษาทางด้านแมลงพบว่า ตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ใช้ระยะเวลาประมาณ 24 ชม.หลังจากนั้น ตัวอ่อนหนอนแมลงวันจะโตเป็นตัวอ่อนระยะที่1-3ช่วงตัวยาวประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตรในระยะเวลาประมาณ 7 วัน และจะเริ่มคลานยั้วเยี้ยไต่รอบ ๆ ศพ แต่ถ้าพบหนอนแมลงวันในระยะสุดท้ายหนอนแมลงวันอาจจะเจริญเติบโตและยาวขึ้นได้อีกเพียงเล็กน้อย และจะอยู่นิ่งเฉยไม่ค่อยคลานเนื่องจากอยู่ในช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นดักแด้ และเริ่มเปลี่ยนเป็นดักแด้ในวันที่ 8 และการสังเกตตัวแก่ที่สุดของแมลงว่าเป็นชนิดใดอาจจะช่วยบอกเวลาการตายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น